ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี
ตามแนวทางเบญจวิถีของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์
ผู้ประเมินโครงการ : ทวีภรณ์ วรชิน
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๔
สังกัด : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ตามแนวทางเบญจวิถีของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต (ความสำเร็จเรื่องการเทิดทูนสถาบัน กตัญญู บุคลิกดี มีวินัย และการให้เกียรติ) และด้านผลกระทบ ผ่าน 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) บุคลิกดีมีมาด 2) กิจกรรมเด็กดีศรีกาญจนา 3) กิจกรรมพุทธบุตรแก้วกาญจนา 4) กิจกรรมศาสนกิจนำสุขทุกสัปดาห์ 5) กิจกรรมกาญจนาสาธารณจิต 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ตามแนวทางเบญจวิถีของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ โดยเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D. = .33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการประเมินด้านผลกระทบ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.64, S.D.=.44) ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62, S.D.=.27) ด้านกระบวนการ โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D. = .20) ด้านบริบท โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. = .31) และด้านผลผลิต โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. =.44)
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการ โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D. =.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม เรียงลำดับจากค่ามากไปหาน้อย พบว่า กิจกรรมศาสนกิจนำสุขทุกสัปดาห์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.75 , S.D. = .63) กิจกรรมบุคลิกดีมีมาด โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.69 , S.D. = .60) กิจกรรมเด็กดีศรีกาญจนา อยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.61 , S.D. = .69) กิจกรรมพุทธบุตรแก้วกาญจนา อยู่ในระดับมาก (= ๔.38 , S.D. = .74) และกิจกรรมกาญจนาสาธารณจิต โดยเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (= ๔.34 , S.D. = .86) และเมื่อพิจารณาตามสถานภาพผู้ประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.64 , S.D. = .37) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.60 , S.D. = .46) คณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.52 , S.D. = .38) และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= ๔.46 , S.D.= .59).